พระธรรมดิลก

 

           พระธรรมดิลก รองอธิการบดีวิทยาเขตอีสาน ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติ จากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็น“ครูภูมิปัญญาไทย ปี ๒๕๔๙” พระธรรมดิลก (สมาน สุเมโธ ป.ธ.๙) เจ้าคณะภาค ๙ (ธ) เจ้าอาวาส วัดป่าแสงอรุณ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหา มกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่นได้รับ ยกย่อง เชิดชูเกียรติ จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวง ศึกษาธิการ ให้เป็นครูภูมิปัญญาไทย ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี ประจำปี ๒๕๔๙ ซึ่งเป็นรุ่นที่ ๕ และได้แต่งตั้งให้ พระมหาสาคร ชิตงฺกโร ผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศาสตร์อีสาน เป็นผู้ช่วยครูภูมิปัญญาไทยด้านวิชาการของพระธรรมดิลกด้วย 

คณะกรรมการคัดเลือกฯได้ดำเนินการคัดเลือกบุคคลผู้ทรงภูมิปัญญาเพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติทั่วประเทศ ใน ๙ ด้าน คือ ด้านเกษตรกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรมด้านการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านปรัชญา 

ศาสนาและประเพณี และด้านโภชนาการ ครูภูมิปัญญาไทยด้านปรัชญา ศาสนาและประเพณี รุ่นที่ ๕ นี้ได้รับ การคัดเลือกทั่วประเทศ เพียง ๖ คนเท่านั้น สรุปคุณสมบัติและเกณฑ์การ คัดเลือก ต้องเป็นบุคคลผู้ทำคุณ ประโยชน์ด้านดังกล่าวเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง มีองค์ความรู้ ที่เกิดจากสั่งสมประสบการณ์ และถ่ายทอดองค์ ความรู้สู่ชุมชน สังคมจนเป็นที่ยอมรับของสังคม ทั่วไป

           พระธรรมดิลก (สมาน สุเมโธป.ธ.๙)เป็นพระเถระที่มีภูมิรู้ภูมิธรรมสูงอีกรูปหนึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่ ที่มีความเมตตา เรียบง่าย ไม่ถือตัว เป็นพระเถระที่มีความสามารถ ด้านการแสดงพระธรรมเทศนาสูงจนเป็น ที่ยอมรับนับถือและเลื่อมใสศรัทธาของคนทั่วไป นอกจากนั้นท่านยังสามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการ แสดงธรรมได้อีกด้วย โดยปัจจุบันท่านสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมภายในวัดป่าแสงอรุณ และมอบหมายให้ลูกศิษย์

อบรมบรรยายธรรม ประยุกต์เพื่อให้ทันสมัย จึงมีประชาชนทั่วไปและเยาวชนจากสถาบัน การศึกษาเข้ารับการ อบรมธรรมอยู่ไม่ขาด นอกจากนั้น ท่านยังพยายามสร้างจิตสำนึก ให้พุทธศาสนิกชนชาวอีสานหันมายึดมั่นใน คุณงามความดีตามหลักการปฏิบัติของ ชาวอีสานในอดีต เช่น พยายามรื้อฟื้น ฮีต ๑๒ ให้ชาวบ้านประชาชน ทั่วไปรู้ถึงคุณค่า ที่แฝงอยู่อย่างแท้จริงให้ธรรมะที่ถูกต้อง และโดยเฉพาะ ปัจจุบันชาวบ้านในถิ่นอีสานส่วน หนึ่งติดอบายมุข เช่น ดื่มเหล้ามากขึ้น งานบุญต่าง ๆ มักจะมีเหล้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอหรือแม้จะไม่มีงานก็ยัง ดื่มเหล้าได้ทุกวัน คนอีสานในอดีตจะดื่มเหล้าเดือนละครั้ง คืองานประจำเดือน (ฮีต ๑๒)และการดื่มเหล้าก็จะ พยายามไม่ให้ลูกหลานได้พบเห็น เหมือนปัจจุบันนี้ พยายามปลูกจิตสำนึกเรื่อง ลด ละ เลิก อบายมุขในงานบุญ เป็นต้น 

           พระธรรมดิลก เป็นพระนักเทศน์ที่ไม่เหมือนใครเพราะเมื่อท่านแสดงธรรมจบแล้วก็มัก จะมีของแจก เป็นที่รู้จักกันว่าท่านชอบแจก เช่น แจกหนังสือธรรม แจกเสื้อ แจกวัตถุมงคล เป็นต้น จนได้ชื่อว่า หลวงพ่อแจก บ่อยครั้งที่เทศน์จบแล้ว ท่านจะมอบเงินกัณฑ์เทศน์ ให้เจ้าภาพคืน เพราะเห็นว่าฐานะของเจ้าภาพนั้นควรช่วย เหลือ ท่านไม่เลือกว่าจะเทศน์ให้ ใครฟัง ไม่เลือกชั้นวรรณะที่จะต้อนรับที่จะรับงานเทศน์ของศรัทธาชนใด ๆ และสิ่งที่เป็น ผลงานโดดเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือการสร้างสิมอีสาน (โบสถ์) ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวอีสาน เป็น สถาปัตยกรรมอีสานประยุกต์ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ปัจจุบัน พระธรรมดิลก ยัง ทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน ท่านได้รับเป็นผู้บริหารระดับสูง และเป็นอาจารย์สอนประจำระดับปริญญาตรี ปริญญาโท มมร.วิทยาเขตอีสาน ขอนแก่น ซึ่งเป็นแหล่งเครือข่าย การถ่ายทอดภูมิปัญญา ไปสู่สังคมได้อย่างดียิ่ง ทั้งนี้ ท่านมีลูกศิษย์ซึ่งเป็นทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่เป็นผู้ช่วย ถ่ายทอด ภูมิปัญญาดังกล่าว\อีกมากมายด้วย ดังนั้น พระธรรมดิลกนับเป็นพระเถระที่ควรยกย่องให้ปรากฏยิ่ง ขึ้นไป สมกับที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นครูภูมิปัญญาไทย